
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ในรายการ Global Asean โดยคุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้นำเสนอถึงการที่รัฐบาลอินเดีย ประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก สั่งห้ามส่งออกข้าวทุกประเภท ยกเว้น ข้าวบาสมาติ ส่งผลให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบ เช่น สหรัฐอเมริกาคนแห่กันไปกักตุนซื้อข้าวที่ซูเปอร์มาร์เก็ต บางคนต้องซื้อข้าวถุงซึ่งราคาแพงกว่าปกติ 3 เท่า
โดยสาเหตุที่ทำให้อินเดียตัดสินใจประกาศงดส่งออกข้าว มีอยู่ 3 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ
1.ต้องการมั่นใจว่า ข้าวในประเทศจะเพียงพอต่อการบริโภค
2.ต้องการรักษาระดับราคาข้าวในประเทศให้คงที่
3.ปัจจัยซ่อนอยู่ คือ การเลือกตั้งใหญ่ในปีหน้า
หากดูภาพรวมตลาดข้าวของโลก พบว่ามีมูลค่ารวมสูงถึง 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าตลาดทั้งหมดนี้เป็นของอินเดีย 32.1% เวียดนาม 14.4% และไทย 11.7%
ซึ่งการประกาศงดส่งออกข้าวของอินเดียในครั้งนี้ หากเป็นการประกาศระยะสั้น ทำให้ข้าวในตลาดโลกลดลง 40% แต่หากเป็นการประกาศระยะยาว จะส่งผลให้ข้าวในตลาดโลกลดลงมากกว่า 1 ใน 3
แล้วไทย ที่ใครๆ ก็ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” และวาดฝันจะเป็นครัวโลกในอนาคต จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างไร ซึ่ง TPG ขอมองในมุมการตลาดเป็นระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้
ระยะสั้น
รัฐทำการสำรวจว่าตอนนี้ปริมาณข้าวมีเพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศ หรือไม่ หากมีเพียงพอ ให้รีบทำการสื่อสารไปยังโรงสี หรือโรงงานสีข้าวต่างๆ ซึ่งเป็น SME ถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยรัฐอาจเป็นตัวกลางในการเจรจาส่งออกระหว่างโรงสี กับประเทศต่างๆ เพื่อฉวยโอกาสตอนที่ Demand กำลังเพิ่มขึ้น แต่ Supply น้อยลง ทำให้ราคาข้าวดีดตัวสูงขึ้น ส่งผลให้โรงสี หรือโรงงานสีข้าว ซึ่งเป็น SME มีรายได้มากขึ้น รวมถึงเกษตรกร ชาวนา ที่เป็นต้นน้ำ แหล่งผลิต ก็จะได้กินดี อยู่ดีมากขึ้น
ระยะยาว
1.พัฒนาสินค้า ซึ่งในที่นี้ก็คือข้าว ด้วยการให้หน่วยงานและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดโลก ให้ได้สายพันธุ์ที่มีความหอม เมื่อโตแล้วมีความทนทานต่อแมลงและโรคต่างๆ รวมถึงให้ผลผลิตต่อรวงดี เพื่อนำไปให้เกษตรกรชาวนาเพาะปลูกต่อไปในอนาคต
2.สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ด้วยการสร้าง Story ให้แก่สินค้า เช่น ข้าวหอมมะลิ ทำไมที่จังหวัดสุรินทร์ถึงขึ้นชื่อและมีความหอม นุ่ม มากกว่าที่อื่น
3.สร้างความรู้ให้แก่พนักงาน ซึ่งในที่นี่ก็คือ เกษตรกร ชาวนา ด้วยการสนับสนุนให้หาความรู้เพิ่มเติมจาก Internet และการให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ของรัฐผสมผสานกัน เพื่อทำให้ข้าวที่ปลูกได้ มีคุณภาพดีขึ้นไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ขายได้ราคาสูงขึ้น มีเงินเลี้ยงปากท้องมากขึ้น ช่วยลดปัญหาหนี้ในครัวเรือนได้อีกทาง
4.รัฐเป็นตัวกลางในการสร้างธุรกิจแบบ G2B และ G2G