“เมื่อของดีของไทยมีมากมาย แต่ไม่เคยมีใครเก็บรวบรวมรักษาไว้เลย” ธนาคารออมสิน ในฐานะธนาคารของประชาชน จึงต้องการเก็บรักษาภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าเหล่านี้ไว้ ไม่ให้สูญหาย
เพื่อเป็นการตอบโจทย์ Pain Point ของลูกค้า Touchpoint Groups จึงได้คิดไอเดีย “โครงการธนาคารภูมิปัญญาขึ้นมา” ภายใต้ Concept “อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด” โดยใช้กลยุทธ์การสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม Creating Shared Value หรือ CSV
โดย CSV = competitive advantage x social responsibility จึงได้นำจุดเด่นด้านการบริการสินเชื่อของธนาคาร มาผสานกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย
เมื่อได้ Idea, Concept และกลยุทธ์ที่ชัดเจนแล้ว สิ่งที่เราทำคือการลงพื้นที่ทุกจัดหวัดของประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 4 ปี เพื่อไปสัมภาษณ์ ถ่ายทำ VDO ของดีในแต่ละจังหวัด จากกูรูตัวจริง รวม 300 กว่าคลิป แบ่งเป็น
📌VDO ความยาว 10 กว่านาที เพื่อให้เห็นทั้งแนวคิด วิธีการทำอย่างละเอียด ดูแล้วสามารถทำตามได้ทันที หรือนำไปต่อยอดได้
📌VDO สั้น เพื่อให้คนต่างประเทศดูแล้วอยากสั่งซื้อสินค้า
นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ ที่ TCDC เชียงใหม่ และสงขลา อีกทั้งยังจัด Workshop ที่ Yellow House ข้างหอศิลป์กรุงเทพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ และให้คนที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอด โดยใช้ศิลปะที่ตัวเองถนัด ด้วยการดึงดูดให้คนมาดูงาน พร้อม Workshop ลงมือทำจริง โดยใช้ไอเดียของตัวเองมาประดิษฐ์ของจากภูมิปัญญาเดิม จนได้สิ่งใหม่ในมุมมองที่แปลกไป นำกลับไปต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยที่ภูมิปัญญาเดิมก็ยังอยู่ไม่หายไปไหน เพียงแต่ถูกปรับให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น และเพื่อเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาเหล่านี้สู่สากล ทาง Touchpoint Groups จึงทำ Website GSB LOCAL WISDOM ขึ้นมา โดยดูแลในส่วนของเนื้อหา, Active VDO ทั้งยังผนึกกำลังกับ Google ในการเป็น Partner เพื่อทำ Google Map 360° ลงในเว็บ พร้อมปักหมุดว่าของดีแต่ละอย่างอยู่ตรงไหนบนแผนที่ประเทศไทย ซึ่งตอนนั้น (ปี 2017) เทคโนโลยี Google Map ยังใหม่มาก และไม่เคยมีใครทำมาก่อน นอกจากนี้ยังเป็น Partner กับองค์กรระดับโลกอย่าง UNESCO,CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตลอดจน KOL/Blogger ที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว เพื่อสร้าง Impact ในวงกว้าง กระตุ้นให้คนไทยและชาวต่างชาติอยากมาท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่มาจากภูมิปํญญาในท้องถิ่น หรือหากไม่สามารถมาท่องเที่ยวได้ ก็ยังสามารถซื้อสินค้าที่มาจากภูมิปัญญาทั้ง 77 จังหวัดของไทยผ่านช่องทางออนไลน์ บนเว็บไซต์
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้คือ การที่ภูมิปัญญามากกว่า 300 อย่างได้ถูกอนุรักษ์ให้คงอยู่ และต่อยอดพัฒนาเป็นสินค้าที่แปลกใหม่ในตลาด สร้าง GDP ให้ประเทศกว่า 200 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 5 ปี และนี่เป็นอีกหนึ่งผลงานที่เราภูมิใจที่ได้มีส่วนในการรักษาภูมิปัญญาของไทยให้ยั่งคงอยู่ เพื่อเป็นมรดกให้แก่คนรุ่นต่อไป